วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา

 บทคัดย่อ

    การทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ต้องการสิ่งตอบแทนจากการทำงาน การทำงานจะทำให้มนุษย์มีรายได้ มีชื่อเสียง มีสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของตนเอง การทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญและส่งผลต่อการดำรงชีวิต มนุษย์จะเลือกงานที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของตนเอง แรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงาน หากการทำงานที่มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานจะทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ดีเรียบร้อยและมีคุณภาพแต่หากงานที่ขาดแรงจูงใจจะทำให้ความสามารถในการปฏิบัติงานลดลงขาดคุณภาพและความเรียบร้อย ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีแรงจูงใจของ Herzberg (อ้างอิง ประเสริฐ อุไร 2559 : 12) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงาน  ประกอบไปด้วย 1.ปัจจัยค้ำจุนเป็นปัจจัยที่ขาดแล้วพนักงานจะมีแนวโน้มเกิดความไม่พึงพอใจต่องานได้แก่ 1) ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ 2) นโยบายบริษัทและการบริหาร 3) ความสัมพันธ์ในหมู่พนักงานด้วยกันความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ 4) สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงานสภาพการทำงาน 5) การควบคุมดูแลของหัวหน้างาน 6) สถานภาพในการทำงาน 7) ความมั่นคงในงาน 2. ปัจจัยจูงใจ คือทปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้คนทํางานอย่างมีความสุขมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประกอบไปด้วย 1) ความสำเร็จในการทำงาน 2) การได้รับการยอมรับหรือการได้รับการยอมรับยกย่องในผลงาน 3) เนื้องานที่ทำมีลักษณะเป็นงานที่น่าสนใจ 4) ความรับผิดชอบในงาน 5) การได้รับการเลื่อนตำแหน่ง 6) ความเจริญ ความก้าวหน้าในการทำงาน


ดังนั้น ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน จึงเปรียบเสมือนแรงจูงใจเป็นฟันเฟืองที่จะขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในองค์กรอีกด้วย 


รายการอ้างอิง

ศรัณย์ ประสาร (2565) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต  ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (2022): ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น