วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1
FEMALE SCHOOL ADMINISTRATORS' LEADERSHIP IN SCHOOLS UNDER BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

Abstract: บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครู ต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ปีการศึกษา 2553 ที่มีผู้บริหารสถานศึกษาสตรี จำนวน 22 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 722 คน กลุ่มตัวอย่าง ใช้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 25 จากประชากร ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน แล้วทำการสุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ อยู่ระหว่าง 1.798 – 5.298 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.9865 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้ค่า Independent Sanples t-test และค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในแต่ละด้าน จะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ตามวิธีการของเชฟเฟ่ โดยกำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านกิจสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านประสิทธิผล และ ด้านมิตรสัมพันธ์ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรี จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียน สังหัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ด้านมิตรสัมพันธ์ ควรมีวิธีการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงานแต่ละคนอย่างหลากหลาย รองลงมา ด้านประสิทธิผล ควรมีความเฉลียวฉลาด สามารถแก้ปัญหา นำข้อมูลสารสนเทศมาปรับปรุง พัฒนางานได้ และด้านกิจสัมพันธ์ควรมีความรอบรู้ด้านวิชาการ และนิเศ กำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ


รายการอ้างอิง
ปาริชาติ ชูปฏิบัติ (2555) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต ปริญญาโท การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น