วันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

Motivation and Learning Strategies: Student Motivation Affects Student Learning Strategies

Motivation and Learning Strategies: Student Motivation Affects Student Learning Strategies

แรงจูงใจและกลยุทธ์การเรียนรู้: แรงจูงใจของนักเรียนส่งผลต่อกลยุทธ์การเรียนรู้ของนักเรียน

Hariri, Hasan; Karwan, Dedy Hermanto; Haenilah, Een Yayah; Rini, Riswanti; Suparman, Ujang
European Journal of Educational Research, v10 n1 p39-49 2021
            Despite being a popular research subject internationally, self-regulated learning is relatively under-investigated in the Indonesian context. This article examined student learning motivation and its use as an indicator to predict student learning strategies in an Indonesian school context. This article applied quantitative research design, with Motivated Strategies for Learning Questionnaire (MSLQ) used to collect the data. This questionnaire was completed by 408 public high secondary students randomly selected from the population in Lampung Province schools, and multiple regression was used to analyze the obtained data. Results show that student motivation and learning strategies were positively and significantly correlated; three predictor variables of student motivation could significantly predict learning strategies; and value components of student motivation best predicted learning strategies. In conclusion, these findings indicate that, when teachers apply learning strategies, such variables as motivation including value, expectancy, and affective components should be strongly considered to be in place. It is hoped finally that the students will be self-regulated learners for their success.
            แม้จะเป็นหัวข้อวิจัยที่ได้รับความนิยมในระดับสากล แต่การเรียนรู้แบบควบคุมตนเองนั้นค่อนข้างอยู่ภายใต้การตรวจสอบในบริบทของอินโดนีเซีย บทความนี้ตรวจสอบแรงจูงใจในการเรียนรู้ของนักเรียนและการใช้เป็นตัวบ่งชี้ในการทำนายกลยุทธ์การเรียนรู้ของนักเรียนในบริบทของโรงเรียนในอินโดนีเซีย บทความนี้ใช้การออกแบบการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้กลยุทธ์สร้างแรงจูงใจสำหรับแบบสอบถามการเรียนรู้ (MSLQ) ในการรวบรวมข้อมูล แบบสอบถามนี้กรอกโดยนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายของรัฐ 408 คน โดยสุ่มเลือกจากประชากรในโรงเรียนในจังหวัดลำปาง และใช้การถดถอยพหุคูณเพื่อวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้รับ ผลการวิจัยพบว่าแรงจูงใจของนักเรียนและกลยุทธ์การเรียนรู้มีความสัมพันธ์กันในเชิงบวกและมีนัยสำคัญ ตัวแปรทำนายแรงจูงใจของนักเรียนสามตัวสามารถทำนายกลยุทธ์การเรียนรู้ได้อย่างมีนัยสำคัญ และองค์ประกอบคุณค่าของแรงจูงใจของนักเรียนที่ทำนายกลยุทธ์การเรียนรู้ได้ดีที่สุด โดยสรุป การค้นพบนี้บ่งชี้ว่าเมื่อครูใช้กลยุทธ์การเรียนรู้ ควรพิจารณาตัวแปรต่างๆ เช่น แรงจูงใจ รวมถึงคุณค่า ความคาดหวัง และองค์ประกอบทางอารมณ์ หวังว่าในที่สุดนักเรียนจะเป็นผู้เรียนที่ควบคุมตนเองได้เพื่อความสำเร็จ


Reference : 

Hariri, H., Karwan, D.H., Haenilah, E.Y., Rini, R. and Suparman, U. (2021) Motivation and Learning Strategies: Student Motivation Affects Student Learning Strategies. European Journal of Educational Research, v10 n1 p39-49 2021


แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา

 บทคัดย่อ

    การทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ มนุษย์ต้องการสิ่งตอบแทนจากการทำงาน การทำงานจะทำให้มนุษย์มีรายได้ มีชื่อเสียง มีสิ่งที่ตอบสนองความต้องการของตนเอง การทำงานถือเป็นสิ่งสำคัญและส่งผลต่อการดำรงชีวิต มนุษย์จะเลือกงานที่มีความสอดคล้องกับความต้องการของตนเอง แรงจูงใจเป็นสิ่งสำคัญต่อการทำงาน หากการทำงานที่มีแรงจูงใจในการปฏิบัติงานจะทำให้สามารถปฏิบัติงานได้ดีเรียบร้อยและมีคุณภาพแต่หากงานที่ขาดแรงจูงใจจะทำให้ความสามารถในการปฏิบัติงานลดลงขาดคุณภาพและความเรียบร้อย ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีแรงจูงใจของ Herzberg (อ้างอิง ประเสริฐ อุไร 2559 : 12) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจในงาน  ประกอบไปด้วย 1.ปัจจัยค้ำจุนเป็นปัจจัยที่ขาดแล้วพนักงานจะมีแนวโน้มเกิดความไม่พึงพอใจต่องานได้แก่ 1) ค่าตอบแทนและผลประโยชน์ 2) นโยบายบริษัทและการบริหาร 3) ความสัมพันธ์ในหมู่พนักงานด้วยกันความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในองค์การ 4) สภาพแวดล้อมทางกายภาพในการทำงานสภาพการทำงาน 5) การควบคุมดูแลของหัวหน้างาน 6) สถานภาพในการทำงาน 7) ความมั่นคงในงาน 2. ปัจจัยจูงใจ คือทปัจจัยที่ก่อให้เกิดแรงจูงใจให้คนทํางานอย่างมีความสุขมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพสูงขึ้น ประกอบไปด้วย 1) ความสำเร็จในการทำงาน 2) การได้รับการยอมรับหรือการได้รับการยอมรับยกย่องในผลงาน 3) เนื้องานที่ทำมีลักษณะเป็นงานที่น่าสนใจ 4) ความรับผิดชอบในงาน 5) การได้รับการเลื่อนตำแหน่ง 6) ความเจริญ ความก้าวหน้าในการทำงาน


ดังนั้น ปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อการปฏิบัติงาน จึงเปรียบเสมือนแรงจูงใจเป็นฟันเฟืองที่จะขับเคลื่อนการปฏิบัติงานในองค์กรอีกด้วย 


รายการอ้างอิง

ศรัณย์ ประสาร (2565) แรงจูงใจในการปฏิบัติงานในสถานศึกษา. วารสารบริหารการศึกษาบัวบัณฑิต  ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (2022): ปีที่ 22 ฉบับที่ 2 (กรกฎาคม-ธันวาคม 2565)

วันศุกร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1

ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1
FEMALE SCHOOL ADMINISTRATORS' LEADERSHIP IN SCHOOLS UNDER BURIRAM EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1

Abstract: บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 และ 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของครู ต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษาและประสบการณ์ในการทำงาน ประชากร ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 ปีการศึกษา 2553 ที่มีผู้บริหารสถานศึกษาสตรี จำนวน 22 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 722 คน กลุ่มตัวอย่าง ใช้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละ 25 จากประชากร ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 180 คน แล้วทำการสุ่มด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะ คือ แบบตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสอบถามปลายเปิด แบบสอบถามมีค่าอำนาจจำแนกเป็นรายข้อ อยู่ระหว่าง 1.798 – 5.298 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.9865 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมุติฐาน โดยใช้ค่า Independent Sanples t-test และค่าการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว เมื่อพบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยในแต่ละด้าน จะทำการเปรียบเทียบความแตกต่างเป็นรายคู่ ตามวิธีการของเชฟเฟ่ โดยกำหนดค่าสถิติที่ระดับนัยสำคัญที่ .05 ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีตามความคิดเห็นของครูในโรงเรียน โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยด้านกิจสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมา ได้แก่ ด้านประสิทธิผล และ ด้านมิตรสัมพันธ์ ตามลำดับ 2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรี จำแนกตามเพศ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียน สังหัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1 โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน 3. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่มีจำนวนมากที่สุด คือ ด้านมิตรสัมพันธ์ ควรมีวิธีการสร้างแรงจูงใจให้ผู้ร่วมงานแต่ละคนอย่างหลากหลาย รองลงมา ด้านประสิทธิผล ควรมีความเฉลียวฉลาด สามารถแก้ปัญหา นำข้อมูลสารสนเทศมาปรับปรุง พัฒนางานได้ และด้านกิจสัมพันธ์ควรมีความรอบรู้ด้านวิชาการ และนิเศ กำกับติดตามอย่างต่อเนื่อง ตามลำดับ


รายการอ้างอิง
ปาริชาติ ชูปฏิบัติ (2555) ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาสตรีในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. ครุศาสตรมหาบัณฑิต ปริญญาโท การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์

โครงงานคุณธรรม ม.1/8 โรงเรียนสุรศักดิ์วิทยาคม ปีการศึกษา 2564

 


            เนื่องจากนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 โรงเรียนสุรศักดิ์วิทยาคม มีปัญหาเรื่องการติด ร. ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 31 คน จากนักเรียนทั้งห้องจำนวน 40 คน คิดเป็นร้อยละ 77.5 ซึ่งมีพฤติกรรมหรือสาเหตุมาจากนักเรียนขาดระเบียบวินัยและความรับผิดชอบขาดความสนใจใฝ่เรียนรู้ อีกทั้งปัจจุบันยังมีสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ส่งผลให้ต้องจัดการเรียนการสอนแบบ Online ให้นักเรียนเรียนผ่านอุปกรณ์สื่อสารที่บ้าน ทำให้นักเรียนมีโอกาสที่จะเล่นเกมกับเพื่อน ๆ หรือสื่อโซเชียลอื่น ๆ ได้ง่ายขึ้น เพราะครูผู้สอนจะไม่เห็นพฤติกรรมของนักเรียนในแต่ละวัน อีกทั้งผู้ปกครองต้องไปทำงานทำให้ไม่มีเวลาติดตามดูแลและใส่ใจนักเรียนนั่นเอง
            จากสภาพปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 ดังกล่าว ส่งผลให้นักเรียนติด ร. ไม่ใส่ใจการเรียน ขาดระเบียบวินัยและความรับผิดชอบ ดังนั้น กลุ่ม 1/8 รวมพลังไร้ ร. จึงมีความสนใจและคิดว่าเป็นปัญหาที่ควรจะเร่งแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุด จึงได้จัดทำโครงงานคุณธรรม เรื่อง
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/8 ใส่ใจ รวมพลังร่วมใจให้ไร้ ร.

URL : Blogger นศ.ป.โท 9/2

 URL : Blogger นศ.ป.โท 9/2   - 18 กุมภาพันธ์ 2566


จตุพร เงินยัง

https://jatupornnang.blogspot.com/

พัชราภรณ์ ฉะเพาะตน

https://patcharaphon2723.blogspot.com/

ธิดารัตน์ ศรีวารีรัตน์

https://thidarat2023.blogspot.com/

มาลิษา สุขภูวงค์

https://malisa080336.blogspot.com/

ศุภักษร สุนทรวัฒน์

https://supagsornsuntornwatdaw1464.blogspot.com/

ไพโรจน์  เลิศกิจเจริญผล

https://apairote.blogspot.com/

สายสุณีย์ ตะเภาทอง

https://saisunee1994.blogspot.com/

ธิดาวรรณ   เสาแก้ว

https://thidawan168.blogspot.com/

กลอยใจ ขันวงค์

https://kloyjaikhanwong.blogspot.com/

ณรงค์เดช เขม้นการนา

https://narongdet-rst.blogspot.com/

จิระภา  ทอนศรี   

https://jirapa128366.blogspot.com/

อรวรรณ ฮีสวัสดิ์

https://orawanhesawadi.blogspot.com/

พระสรภัค รามัญอุดม

https://sorapuk.blogspot.com/

สุทิน พยนต์เลิศ

https://sutin909.blogspot.com/

ทิพย์วรรณ บัวพล

https://tippawan10506.blogspot.com/

สุนิสา วังทอง

https://tansunisa21.blogspot.com/

นุชจรีย์ โยดี

https://amnutchari.blogspot.com/

มนัสเทพ ขำสุวรรณ์

https://manusthep050230.blogspot.com/

จันทร์นภา ฉิมพาลี

https://channapa2522.blogspot.com/

พัสตราภรณ์ ธรรมสอน

https://pustraporn.blogspot.com/

จริยา  เดชมูล

https://jariyadeatmul.blogspot.com/

รตินันท์ เพชรแท้

https://ratinan0709.blogspot.com/

กันตภณ กันตะโสพัตร์

https://guntapolg.blogspot.com/

อัจฉรา สุวลักษณ์

https://izysmall1002.blogspot.com/

อุษณีย์ นุ่นมีศรี

https://udsanee6423.blogspot.com/

วรางคณา ดอกกฐิน

https://wsa.dsl.studentloan.or.th/

เพลงที่ชอบ


 

รูปจาก Workshop 2

 

ประวัติภาณุมาศ