วันศุกร์ที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2566

การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9

 Title
การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9
Title Alternative
The administration of educational information and communication technology in school under the secondary educational service area office 9

keyword: ระบบการจัดเก็บและค้นข้อสนเทศ
ThaSH: โรงเรียน -- การบริหารและการจัดกา
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษา ของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 เปรียบเทียบระดับการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ไปใช้ จำแนกตาม ผู้บริหารและครู และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ เป็นผู้บริหาร จำนวน 76 คน และครู จำนวน 273 คน รวม 352 คน โดยใช้สูตรของยามาเน่ (1967) ที่ความคลาดเคลื่อน 0.05 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล เป็นแบบสอบถามจำนวน 1 ฉบับ ที่ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ 0.97 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 พบว่า การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผู้สอนสาขาวิชาทั่วไป โดยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการพัฒนาหรือประยุกต์ใช้ ICT เพื่อการเรียนการสอน การส่งเสริมสนับสนุนการปรับสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ด้าน ICT เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาศักยภาพด้าน ICT ของผู้สอน การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของผู้สอนสาขาวิชา ICT โดยส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาความรู้ความสามารถด้านการพัฒนา ICT เพื่อการเรียนการสอน การเพิ่มปริมาณและคุณภาพของบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้และทักษะที่สูงขึ้น (High Skill) รวมทั้งในส่วนที่เกี่ยวกับซอฟต์แวร์แบบเปิดเผยรหัส (Open Source) เพื่อเอื้อต่อการพัฒนาและประยุกต์ใช้ ICT ด้านบริหารจัดการด้านการศึกษา มีการบริหารงานอยู่ในระดับมาก 2. ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ระหว่างผู้บริหาร และครู พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 3. ผลการเปรียบเทียบระดับการบริหารงานเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ตามขนาดของโรงเรียน พบว่า จากคะแนนค่าเฉลี่ยโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีระดับการบริหารงานสูงสุด และผลการ ทดสอบค่าเฉลี่ยพบว่าโรงเรียนที่มีขนาดต่างกันมีการบริหารงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


รายการอ้างอิง
ระพีภัทร์ ธนากูลจีรวัฒน์ (2565) การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. ครุศาสตรมหาบัณฑิต ปริญญาโท การบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น